ศักยภาพของ เบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำ เรียบเรียงโดย นายแพทย์ สันติ สิลัยรัตน์

จากการค้นพบศักยภาพที่หลากหลายของสารเบต้ากลูแคนที่ได้จากยีสต์ดำในการรักษาโรคต่าง ๆ จึงขอแนะนำการนำสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำมาเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมค้นคว้าด้านชีววัฒนะ

ศักยภาพของ เบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำ Aureobasidium pullulans

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าสารเบต้ากลูแคนซึ่งพบได้ในเห็ด พืช และแบคทีเรียบางชนิด น่าจะมีบทบาทในแง่ของการเป็นตัวควบคุมชนิดหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน จึงน่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีมากสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง จนมีการนำเอามาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งหลายชนิด ตัวอย่างเช่น การนำเอาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus และ Serratia มาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง sarcoma โดย Dr.William Coley ซึ่งรายงานว่าทำให้ขนาดของ ก้อนนั้นลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5 ของขนาดเริ่มต้น หรือการใช้เชื้อ Bacillus Calmette-Guerin สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งโดย Dr.Maruyama ในญี่ปุ่น ซึ่ง ในปัจจุบันยังมีการใช้เพื่อเป็นวัคซีนป้องกันโรคมะเร็ง สารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำ เมื่อเข้าสู่ลำไส้ ก็จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันชนิด innate immunity ผ่านทางตัวรับ ได้แก่ dectin-1, toll-like receptors และอื่น ๆ ที่อยู่บนผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด macrophage และ dendritic cells จากนั้นจึงเกิด การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันชนิด acquired immunity ผ่านทาง dendritic cells เกิดขึ้นตามมา เนื่องจากสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำสามารถ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบภูมิคุ้มกันได้ดังนั้น จึงเชื่อว่าน่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีสำหรับโรค ต่าง ๆ อาทิ เช่น

1. โรคมะเร็ง

2. โรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อ ตัวเอง (Autoimmune diseases) เช่น Rheumatoid arthritis, thyroid disease หรือโรคที่เกิดจากความ ไม่สมดุลของภูมิคุ้มกัน เช่น โรคภูมิแพ้ต่าง ๆ หรือ แม้แต่ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เป็นต้น

3. โรคที่มีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว

4. กระบวนการเสื่อมสภาพของภูมิคุ้มกันและความแก่ชรา

5. การป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ไข้หวัดไหญ่, HIV, SARS เป็นต้น



การต้านความชราด้วยระบบภูมิคุ้มกัน

แม้ว่าในปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างการเสื่อมสภาพหรือการบาดเจ็บของ เซลล์กับการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่าง ๆ นั้นจะยังไม่ปรากฏชัด แต่ก็เชื่อว่าเซลล์ ที่เสื่อมสภาพหรือเสียหายมีการปลดปล่อยสารบางชนิดออกมาทำให้การทำงานของเซลล์อื่น ๆ เกิดความผิดปกติตามมาได้ ตามปกติแล้วเซลล์ที่เสื่อมสภาพเหล่านี้ อาจถูกกำจัดได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกันของเรา แต่เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเรา เองนั้นก็มีความเสื่อมหรือชราภาพเกิดขึ้นได้เช่นกัน (ดังเช่นข้อมูลที่พบว่าหลังจาก อายุพ้น 20 ปีไปแล้ว การทำงานของ Natural killer cells จะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น) ดังนั้น หากสามารถควบคุมและรักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันได้ด้วยสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำก็น่าจะสามารถควบคุมการเสื่อมสภาพของเซลล์ได้และก็อาจจะทำให้การเสื่อมสภาพของอวัยวะหยุดไปด้วยได้เช่นกัน

 

โรคมะเร็ง

เมื่อประมาณ 14 ปีที่ผ่านมา สารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำได้ถูกผลิตและ จัดจำหน่ายในท้องตลาดในลักษณะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ โดยบริษัท Aureo จำกัด โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รุนแรงหลายรายได้รับประทานสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง ผู้ป่วยบางรายดีขึ้นได้มากจนกลับเป็นปกติ และสามารถลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษาลงได้

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่สามารถบอก ประสิทธิภาพของสารเบต้ากลูแคนได้ชัดเจน เนื่องจากแพทย์ผู้รักษาไม่ต้องการให้ใช้สารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำเพียงชนิดเดียวในการรักษาโรคเหล่านี้สรรพคุณอื่นๆของสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำสำหรับผลดีที่ได้จากสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำในโรคอื่น ๆ นั้น เนื่องจากสารนี้มีบทบาทในแง่ของการปรับเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น จึงอาจมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้เหมือนวัคซีนป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ และทำให้สมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในกลุ่มโรค autoimmune disease ดีขึ้นและยังอาจทำให้โรคอื่น ๆ ที่มีกระบวนการอักเสบเข้ามาเกี่ยวข้องดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เมื่อสารเบต้ากลูแคนอยู่ในลำไส้ยังอาจมีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในลำไส้ซึ่งควบคุมโดย T-cells ทำงานได้ดีขึ้น และมีเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ดีในลำไส้เพิ่มมากขึ้นได้ มีการตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่าแบคทีเรียในลำไส้เหล่านี้สามารถสร้างสารบางชนิดที่เป็นสารตั้งต้นของ serotonin และ dopamine ที่มีผลกระตุ้นความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและมีความสุข ดังนั้นในทางอ้อม การรับประทานสารเบต้ากลูแคนก็อาจมีส่วนช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

โรคไข้หวัดใหญ่

ในปี ค.ศ. 2009 ซึ่งเป็นปีที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ Influenza A/H1N1 นั้นทำให้เกิดปัญหาอย่างมาก ในช่วงนั้นได้มีการทำการทดสอบประสิทธิภาพของยา Tamiflu และสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำเพื่อการรักษาไข้หวัดใหญ่ชนิดนี้จากการทดลองในหนูซึ่งได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าไปพบว่า หนูกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาตายทั้งหมดในขณะที่กลุ่มที่ได้รับสารเบต้ากลูแคนร่วมกับ lacticacid และกลุ่มที่ได้ยา Tamiflu มีอัตราการรอดชีวิตคิดเป็นร้อยละ 75 และ 50 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารเบต้ากลูแคนอาจมีส่วนช่วยทำให้หนูรอดชีวิตได้มากกว่า Tamiflu นอกจากนี้ยังพบว่าสารเบต้ากลูแคนยังมีความปลอดภัยมากกว่า และไม่ก่อให้เกิดภาวะดื้อต่อยาเหมือนยาต้านไวรัสอีกด้วย ดังนั้น สารนี้จึงน่าจะเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคติดเชื้อได้อีกหลายชนิด เช่น HIV หรือ SARS เป็นต้น

สารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Regulatory T-cells

Regulatory T-cells ถูกสร้างขึ้นราวร้อยละ 10 ของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดT-cells ทั้งหมด เซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญในการสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันและหากขาดเซลล์เหล่านี้ไปก็จะมีผลทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันขึ้นได้ดังเช่นในการทดลองในหนู ซึ่งพบว่าหนูกลุ่มที่มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นปกติจะไม่มีความผิดปกติใด ๆ ในขณะที่หนูกลุ่มที่ไม่มีเซลล์นี้เกิดโรค inflammatory enteritisขึ้น นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Atopy) อีกหลายรายซึ่งเมื่อได้รับการรักษาด้วยสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำแล้วดีขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานแต่อาการไม่ดีขึ้น การใช้สเตียรอยด์นั้นจะกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจจะทำให้อาการของภูมิแพ้ลดลง แต่ไม่สามารถแก้ไขให้หายขาดได้ เพราะสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันยังไม่เป็นปกติ Regulatory T-cell มีบทบาทอย่างมากในการควบคุมความไม่สมดุลนี้ และเมื่อร่างกายได้รับสารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำจะช่วยทำให้การสร้าง Regulatory T-cell ในลำไส้มากขึ้น และช่วยทำให้สมดุลของระบบภูมิคุ้มกันกลับมาเป็นปกติได้

 

สรุป

แม้ว่าในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา สารเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำยังเป็นเพียงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพเท่านั้น แต่ก็มีข้อมูลและประสบการณ์ที่บ่งชี้ว่าอาจมีบทบาทที่สำคัญในโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรค autoimmune disease ต่าง ๆ หรือแม้แต่การเสื่อมสภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอายุยืน จากข้อมูลที่ผ่านมาประสิทธิภาพของสารนี้ยังไม่ชัดเจนเพราะยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่เพียงพอ ดังนั้น จะเป็นการดีหากมีการทดสอบประเมินทางคลินิกให้ได้ข้อมูลทางสถิติและวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าสารนี้มีประสิทธิภาพในทางคลินิกอย่างไรและมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับ 1. โรคมะเร็ง 2. โรคติดเชื้อ 3. การเสื่อมสภาพและความชรา

อ้างอิง References

1. Taylor PR, Brown GD, Herre J, Williams DL, Willment JA, Gordon S. The role of SIGNR1 and the beta-glucan receptor (dectin-1) in the nonopsonic recognition of yeast by specific macrophages. J Immunol 2004;172(2):1157-1162.

2. YOSHUIYUKI KIMURA1, MAHO SUMIYOSHI2, TOSHIO SUZUKI3 and MASAHIRO SAKANAKA2. Antitumor and Antimetastatic Activity of a Novel Water-soluble Low Molecular Weight β-1, 3-D-Glucan (branch β-1,6) Isolated from Aureobasidium pullulans 1A1 Strain Black Yeast. Anticancer Research November-December 2006, vol. 26 no. 6B4131-4141.

3. Hyeong-Dong Kim, Hyung-Rae Cho, Seung-bae Moon, Hyun-Dong Shin, Kun-Ju Yang, Bok-ryeon Park, Hee-Jeong Jang, Lin-Su Kim, Hyeung-Sik Lee, Sae-Kwang Ku. Effects of β-glucan from Aureobasidium pullulans on acute inflammation in mice. Archives of Pharmacal Research March 2007, Volume 30, Issue 3, pp. 323-328.

ที่มา: นิตยสารวงการแพทย์ ฉบับที่ 16-31 พค. 2557

ติดตามข่าวสารเบต้ากลูแคน   

Author Info

tony-online

No Comments

Comments are closed.